the101_world Profile Banner
the101.world Profile
the101.world

@the101_world

Followers
48K
Following
11
Statuses
13K

https://t.co/MKJWiHeAN2 I creative knowledge media for social change

Joined February 2017
Don't wanna be here? Send us removal request.
@the101_world
the101.world
2 hours
ฝุ่น PM2.5 ยังไม่หายไปไหน และยังคงส่งกระทบผลต่อเด็กเล็ก ทั้งในเรื่องสุขภาพ การศึกษา และพัฒนาการระยะยาว วันโอวันคุยกับผอ.โรงเรียนเอกชน สำรวจโจทย์ทางการศึกษาและสุขภาพที่เข้ามาท้าทายโรงเรียนและภาครัฐมากขึ้นเรื่อยๆ
Tweet media one
0
1
1
@the101_world
the101.world
5 hours
การเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป กำลังเดินหน้าสู่รอบที่ 5 ในเดือนหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะสรุปการเจรจาภายในปี 2568 นี้ แต่การจับตาดูการเจรจาของสังคมไทยกลับยังดูเงียบงัน 'ยาจะแพง - ความมั่นคงทางอาหารจะตกต่ำ - นวัตกรรมจะไม่เติบโต' แม้ยังเร็วไปที่จะยืนยันได้ว่าสถานการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่การติดตามและตั้งคำถามต่อการเจรจาในช่วงเวลานี้อาจเป็นโอกาสสุดท้าย ก่อนที่อนาคตของคนไทยจะถูกกำหนดโดยเงื่อนไขในหน้ากระ��าษที่ลงนามไปแล้ว วันโอวันชวนจับตาการเจรจา FTA ระหว่างไทยและสหภาพยุโรปกับ เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล ผู้จัดการโครงการส่งเสริมการเข้าถึงยา เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
Tweet media one
0
5
3
@the101_world
the101.world
7 hours
-คดีพิรงรอง สร้างแรงกระเพื่อมอะไรต่อสังคมบ้าง? -คดีพิรงรองผิดปกติอย่างไร? คลุมเครือตรงไหน? -IPTV กับ OTT คืออะไร สำคัญอย่างไรนับจากคดีนี้? ฯลฯ วันโอวัน รวบรวมคำถามน่าสนใจต่อคดีพิรงรอง พร้อมคำตอบจากวงเสวนา ‘“พิรงรอง Effect” ทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อต่อจากนี้’
Tweet media one
0
38
20
@the101_world
the101.world
1 day
การจากไปของ ‘อ.ตุล - คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง’ เมื่อคืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นความสูญเสียของวงวิชาการด้านปรัชญาศาสนาและแวดวงความรู้ของสังคมไทย สำหรับ��ีมวันโอวัน อ.ตุล เป็นทั้งเพื่อนและแหล่งความรู้สำคัญ ประสบการณ์ในการทำงานและความใกล้ชิดตลอดช่วงที่รู้จักกันมาทำให้พวกเรารู้สึกเสมอว่า อ.ตุล เป็นหนึ่งใน ‘สมาชิกครอบครัว’ อ.ตุลเป็นหนึ่งในมนุษย์ ‘น่าทึ่ง’ - ความรู้รอบด้าน ความเก่งครบเครื่อง ความสามารถหลากหลาย - เป็นส่วนผสมเฉพาะตัวซึ่งหาที่ไหนไม่ได้ และไม่มีใครทดแทนได้ อ.ตุลมีความเป็นครู ชอบถ่ายทอดความรู้ให้ทุกคน เป็นนักเล่าไม่รู้เหนื่อย ทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรม ทั้งแก่นทั้งเกร็ด ทั้งการผสมผสานข้ามศาสตร์ จากประวัติศาสตร์สู่อนาคต จากจิตใจสู่จักรวาล ทั้งหมดนี้ถูกนำเสนอด้วยทักษะการเล่าเรื่องระดับอัศจรรย์ อารมณ์ขันที่เฉียบคม ผ่านคาแร็กเตอร์ที่ติดตรึงใจทุกคนที่ได้เจอ ด้วยความเป็นมิตร ความมีน้ำใจ และความรักที่มอบให้เพื่อนร่วมโลก วันโอวันร่วมรำลึกถึง อ.ตุล ผ่านผลงานที่ อ.ตุล ฝากทิ้งไว้ในโลกความรู้ ทั้งงานเขียน บทสัมภาษณ์ และงานสื่อรูปแบบต่างๆ ที่ อ.ตุลและวันโอวันทำร่วมกัน ● บทสัมภาษณ์ว่าด้วยอนาคตของศาสนาในยุคที่เอไอกำลังมาและศาสนาถูกตั้งคำถามว่าจะอยู่อย่างไร ‘พันปีข้างหน้าศาสนาก็ไม่ตาย! เมื่อมนุษย์ยังมีคำถามที่ตอบไม่ได้และวิทย์ไม่ใช่ทุกอย่าง กับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง’ ( ● บทสนทนาว่าด้วยเรื่องความตายและความหมายของชีวิต ทำความรู้จักการรักษาแบบประคับประคองและการจัดการชีวิตในวาระสุดท้ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ‘101 Gaze Ep.6 “Well-dying หากความตายคือ ‘ชีวิต’ วันสุดท้ายที่มีคุณภาพ”’ ( ● บทสนทนาว่าด้วยอำนาจและศักดินาที่อยู่ในศาสนา และการย้อนมองและวิพากษ์วิจารณ์ศาสนากับรัฐไทยอ่าน ‘อ่านศาสนากับการเมือง: อำนาจ ศักดินา และเกมความเชื่อ กับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง’ ( ● บทสนทนาว่าด้วยศาสนากับสังคมสมัยใหม่ ในวาระการเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส การปรับตัวของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และองค์กรศาสนาในประเทศไทย ไปจนถึงกระแสความนิยมเครื่องราง ‘สายมู’ ในปัจจุบัน ‘ศาสนากับสังคมไทยสมัยใหม่ กับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง’ ( ● ชุดบทความว่าด้วยอาหาร ปรัชญา กับวัฒนธรรม ‘I eat, Therefore I am. เมื่อปรัชญามาเจออาหาร’ ( ● ไขปริศนาวัฒนธรรมรอบตัวและถอดรหัสความเชื่อที่ไม่เคยถูกอธิบายในชุดรายการพอดแคสต์ฟังสนุก ‘ความรู้รอบผัว’ โดย อ.ตุล - คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง และภรรยา แพร์ - วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์ ( ● รายงานพิเศษว่าด้วยประสบการณ์ในการเดินทางไปร่วมการชุมนุมชาวคริสต์ที่ประเทศเมียนมาและการเข้าร่วมพิธีมหาบูชามิสซา ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬา Kyaikkasan Ground กรุงย่างกุ้ง โดยมีสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นประธานในพิธี ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ‘ด้วยรักและสันติภาพ : การเสด็จเยือนเมียนมาร์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส’ ( ● บทสนทนากับคุณพ่ออนุชา ไชยเดช ผู้ช่วยเลขาธิการสภาพระสังฆราชฯ ฝ่ายสื่อสารสังคม โดยคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง เนื่องในโอกาสการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ‘พระองค์จะทิ้งสิ่งใดไว้ให้เรา? : การเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส กับมุมมองของ ‘คนในบ้าน’ ของคุณพ่ออนุชา ไชยเดช’ (
Tweet media one
5
981
746
@the101_world
the101.world
1 day
:::::: 101 Editor’s Pick :::::: ไม่ผูกขาด แค่ทำธุรกิจแนวดิ่ง(?) . "หลายคนอาจมองว่า (ซีพี) ผูกขาด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เราเพียงแต่ดำเนินธุรกิจเป็นแนวดิ่ง ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ทุกขั้นตอนสอดคล้องกัน" เป็นคำกล่าวของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ บนเวที ‘Chula Thailand Presidents Summit 2025’ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประโยคดังกล่าวได้จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอีกครั้ง เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าการดำเนินธุรกิจแบบ ‘แนวดิ่ง’ ที่ครอบคลุมทุกห่วงโซ่อุปทานอาจไม่ได้แตกต่างจาก ‘การผูกขาด’ เท่าไหร่นัก . ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์’ หรือ ‘ซีพี’ ถูกตั้งคำถามถึงอำนาจทางการผูกขาดทางธุรกิจ เนื่องจากมีการดําเนินธุรกิจที่หลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่เกษตรกรรม ค้าปลีก โทรคมนาคม ไปจนถึงการเงินและธนาคาร อีกทั้งยังมีดีลการควบรวมของบริษัทหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ ที่ถูกนิยามว่าเป็น ‘ดีลประวัติศาสตร์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม’ รวมไปถึงการควบรวม ‘���ีพี-เทสโก้ โลตัส’ . อีกทั้งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัลกรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติ��ุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 โดยศาลตัดสินให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา จากกรณีที่เธอเรียกร้องให้ตรวจสอบการแพร่เสียงและภาพผ่านการรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet TV Box) และแอปพลิเคชัน TRUE ID คำพิพากษาดังกล่าวทำให้สังคมหันกลับมาตั้งคำถามถึงอิทธิพลของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ วัฒนธรรมผูกขาด และปัญหาการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมอีกครั้ง . ท่ามกลางข้อถกเถียงในสังคมเช่นนี้ วันโอวันชวนย้อนอ่านงานสื่อและงานวิจัยว่าด้วยดีลควบรวมครั้งใหญ่ของบริษัทที่ถูกตั้งคำถามจากสังคม เพื่อสำรวจตรวจสอบโลกของทุนและวัฒนธรรมผูกขาดในสังคมไทย ตลอดจนร่วมกันตั้งคำถามว่าทำไมการขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันเกี่ยวกับการผูกขาดจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในสังคมไทย . ::: “การทำธุรกิจมีวิกฤตทุกวัน” ถอดคมคิด เปิดตำราฝ่าวิกฤตฉบับเครือซีพี: ธนินท์-ศุภชัย เจียรวนนท์ ::: 101 สนทนากับ ธนินท์-ศุภชัย เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ‘ซีพี’ ร่วมหาคำตอบว่าประสบการณ์กว่าหนึ่งศตวรรษของซีพีสอนอะไร และแม่ทัพซีพีมองความยิ่งใหญ่ที่มาพร้อมคำถามอย่างไร . ::: วัฒนธรรมผูกขาดกับการยึดกุมกลไกกำกับดูแลของทุนไทย – สฤณี อาชวานันทกุล ::: 101 คุยกับ ‘สฤณี อาชวานันทกุล’ ว่าด้วยวัฒนธรรมผูกขาดและการยึดกุมกลไกกำกับดูแล เพื่อหาคำตอบว่า ทำไมการผูกขาดจึงเป็นเรื่องที่ต่อสู้ได้ยากในสังคมไทย . ::: กสทช. กับการ (ไม่?) บังคับใช้ตามมาตรการควบรวม TRUE-DTAC ::: 101 PUB ชวนสำรวจผลกระทบของการควบรวม TRUE-DTAC ต่อผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งติดตามการบังคับใช้มาตรการควบรวมของ กสทช. . ::: 5 เรื่องเล่า vs 5 เรื่องจริง ดีลควบรวมทรู+ดีแทค และบทบาทของ กสทช. ::: 101 PUB ชวนตรวจสอบ ‘เรื่องเล่า vs เรื่องจริง’ กรณีควบรวมทรู-ดีแทค ผ่านข้อมูลและกฎหมาย เมื่อ ‘ดีลใหญ่’ ครั้งนี้ส่งผลต่อผู้ใช้โทรศัพท์หลายล้านคนและอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย . ::: “ไม่พบการทำผิดเงื่อนไข” 3 ปีหลังควบรวมซีพี-โลตัส กับความพยายามติดตามผลควบรวมของ กขค. ที่อาจเสียเปล่า ::: 101 ชวนกางรายงานติดตามผลการควบรวมระหว่างซีพีและเทสโก้ โลตัส ของ กขค. หลังผ่านมาสามปี ซึ่งพบว่ามีช่องโหว่หลายจุด
Tweet media one
2
58
31
@the101_world
the101.world
1 day
:::::: 101 This week :::::: อ่านไฮไลต์ผลงานเด่นที่เผยแพร่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของ และพลาดไม่ได้กับผลงานสื่อหลากรสที่จะช่วยให้คุณติดตามการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทยได้สนุกมากขึ้น . อ่านผลงานใหม่ทั้งหมดในสัปดาห์ที่ผ่านมาของ ได้ที่
Tweet media one
0
2
5
@the101_world
the101.world
3 days
🎧 101 In Focus EP.264: ‘สงครามอวกาศ-ศาสนาล่มสลาย?’ มนุษยชาติจะเป็นอย่างไรในอีกร้อยปีข้างหน้า ปี 2025 นี้ เราก้าวเข้าสู่หนึ่งควอเตอร์ หรือเศษหนึ่งส่วนสี่ของศตวรรษที่ 21 แล้ว มนุษยชาติเดินทางมาไกล แต่ยังมีเส้นทางข้างหน้าที่เราต้องไปต่อ คำถามคือ เรากำลังก้าวไปในทิศทางใด? ศาสนาจะตายไปจากโลกหรือไม่? ฉากทัศน์ของพลังงานในอนาคตจะเป็นแบบไหน? สงครามยุคใหม่จะอยู่ในรูปแบบใด? และวิกฤตโลกรวนจะทำให้ปัจจัยสี่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? คำถามเหล่านี้เป็นโจทย์สำคัญแห่งยุค โดยเฉพาะเมื่อมองย้อนอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า มนุษย์ทั้งสร้างและทำลาย เปลี่ยนโลกไปอย่างไม่อาจหวนคืน 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนตั้งคำถามถึงก้าวต่อไปของมวลมนุษยชาติ ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องศาสนา สงคราม พลังงาน และวิถีชีวิตท่ามกลางภาวะโลกรวน 🎧 รับฟังรายการได้ที่ 🔹 🔹 🎙️ ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ และ ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ #101InFocus #101Podcast #The101world #วันโอวัน
Tweet media one
0
1
2
@the101_world
the101.world
3 days
🟡 101 One-on-One วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 📌 ‘เด็กหาย’ วิกฤตสังคมไทยที่น่ากังวล กับ เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข ‘เด็กหาย’ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ในปี 2567 มูลนิธิกระจกเงาได้รับแจ้งเด็กหายถึง 314 คน สาเหตุหลักคือเด็กสมัครใจหนีออกจากบ้าน เรื่องเด็กหายมีรากมาจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือประเด็นครอบครัว เรื่องนี้ยังเชื่อมโยงกับประเด็น ‘คนหาย’ ซึ่งเกี่ยวพันถึงปัญหาลักพาตัวและค้ามนุษย์ด้วย ท่ามกลางปัญหาที่หลากหลายในสังคมไทย เรื่องนี้ก็เป็นอีกปัญหารุนแรงที่สังคมไทยต้องร่วมกันหาทางออก วันโอวัน ชวน เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา มาพูดคุยว่าด้วยปัญหาเรื่องคนหาย เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นอะไรในสังคม ขนาดของปัญหาคนหายนั้นใหญ่แค่ไหน การตามรอยเด็กหายทำได้ด้วยวิธีใด เรื่องการค้ามนุษย์เกี่ยวข้องกับปัญหานี้แค่ไหน ความเหลื่อมล้ำใช่แก่นของปัญหาไหม และเราจะป้องกันตัวได้อย่างไร ติดตามทั้งหมด��ด้ในรายการ 101 One-on-One 🎙️ ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย 🗓️ วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 19.00 น. 🔴 สดทาง Facebook และ YouTube วันโอวัน ‘ #เด็กหาย #คนหาย #มูลนิธิกระจกเงา #101OneonOne #The101world #วันโอวัน
Tweet media one
1
8
6
@the101_world
the101.world
3 days
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของทรัมป์หลังรับตำแหน่งว่าเป็น ‘การปฏิวัติ’ ที่ไม่มียุทธศาสตร์ ซึ่งนำโดย ‘พระราชาโดนัลด์’ ผู้หมกมุ่นและหลงใหลในชื่อเสียง “ทรัมป์มาพร้อมกับพิมพ์เขียวเรียกว่า Project 2025 ... เรียกว่าเป็นการเตรียมการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงประเทศแบบการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีตก็คงได้ แต่คราวนี้เป็นการปฏิวัติโดยพรรคอนุรักษนิยมเอียงขวา” “ไม่มีใครรู้ว่านโยบายปฏิวัติของทรัมป์มีจุดหมายแค่ไหนและมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร..ไม่รู้ว่าเรื่องไหนสำคัญกว่ากัน อะไรควรดำเนินก่อน���รือหลัง ไม่มีแผนหรือยุทธศาสตร์ในการปฏิวัติที่เป็นระบบ เรียกว่าเป็นการปฏิวัติที่ระส่ำระสายที่สุดในประวัติศาสตร์ หรือเป็นการปฏิวัติโดยโซเชียลมีเดีย” #มองอเมริกา
Tweet media one
0
3
0
@the101_world
the101.world
3 days
คอลัมน์ Phenomenon สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา พาสำรวจความหมายของ 'คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ' ภาพพิมพ์แกะไม้ที่โด่งดังไปทั่วโลก ชวนหาคำตอบว่าเพราะอะไรภาพนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ที่ทรงพลังที่สุดของญี่ปุ่น . อ่านได้ที่:
Tweet media one
0
2
2
@the101_world
the101.world
4 days
จำคุก ‘ดร.พิรงรอง’ สะท้อนวัฒนธรรมผูกขาดกับการยึดกุมกลไกกำกับดูแลของทุนไทย จากกรณีศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษาจำคุก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ ข้อหากระทำผิดตามมาตรา 157 ในคดีที่ บริษัท ทรู ดิจิทัลกรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้อง ว่ามีเจตนากลั่นแกล้งให้ได้รับความเสียหาย หลังตรวจสอบข้อร้องเรียนของผู้บริโภคที่พบปัญหาการใช้งานแอปพลิเคชั่น ว่ามีโฆษณาแทรกขณะกดเปลี่ยนช่อง ผลพวงจากการฟ้องคดีนี้ ที่บริษัทขนาดใหญ่ใช้กระบวนการยุติธรรมกดดันผู้ตรวจสอบ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของกลไกการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการผูกขาดและลดการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้  เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีศึกษา��ื่นๆ ทั่วโลก จะพบว่าปัญหาการครอบงำหน่วยงานกำกับดูแล (Regulatory Capture) และการฟ้องร้องเพื่อปิดปากผู้วิจารณ์ (Strategic Lawsuits Against Public Participation: SLAPP) ทั้งในภาครัฐและเอกชน มักเกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อหน่วยงานกำกับดูแลพยายามควบคุมหรือตรวจสอบธุรกิจขนาดใหญ่ การป้องกันและแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ  โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเป็นอิสระและความโปร่งใส เสริมสร้างกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล รวมทั้งคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูล (Whistleblower Protection) อย่างเข้มแข็ง เพื่อให้บุคคลทั่วไปกล้าเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยไม่ต้องเกรงกลัวการฟ้องร้องหรือถูกกลั่นแกล้ง   วันโอวัน ชวนย้อนอ่านบทวิเคราะห์ “วัฒนธรรมผูกขาดกับการยึดกุมกลไกกำกับดูแลของทุนไทย“ โดย สฤณี อาชวานันทกุล ที่จะช่วยให้เข้าใจความซับซ้อนของปัญหานี้ได้ดียิ่งขึ้น และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขให้สังคมเกิดการแข่งขันที่เสรี ปกป้องสิทธิผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ถูกผูกขาดจากนายทุนคนใด อ่านได้ที่ #saveพิรงรอง #พิรงรอง #กสทช #TrueID #The101World #วันโอวัน
Tweet media one
Tweet media two
0
31
18
@the101_world
the101.world
4 days
ขณะนี้สังคมไทยได้ก้าวสู่ฉันทมติรูปแบบใหม่ของชนชั้นนำบนฐานกฎหมายมาตรา 112 (112 consensus) กล่าวคือทั้งฝ่ายชนชั้นนำต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่แก้ไข ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ยกเลิกมาตราดังกล่าว - เกษียร เตชะพีระ ย้อนรอยแนวคิดสันติวิธีของชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และสำรวจความรุนแรงในสังคม ในยุค 'ฉันทมติ 112'
Tweet media one
0
5
4
@the101_world
the101.world
4 days
ชัยชนะ (ไม่) เบ็ดเสร็จของพรรคเพื่อไทยกับเส้นทางสู่เลือกตั้ง 2570 – สรวงศ์ เทียนทอง ▶️ ชมรายการเต็ม: #เลือกตั้งอบจ #เลือกตั้งอบจ68 #พรรคเพื่อไทย #101OneonOne #The101world #วันโอวัน
0
1
1
@the101_world
the101.world
4 days
‘ลำพูน’ ชัยชนะเพียงหนึ่งเดียวและภารกิจแก้เกมการเมืองของพรรคประชาชน – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ▶️ ชมรายการเต็ม: #เลือกตั้งอบจ #เลือกตั้งอบจ68 #พรรคประชาชน #101OneonOne #The101world #วันโอวัน
0
1
1
@the101_world
the101.world
4 days
"คนใดอ่านตำราของอาจารย์เสนีย์จบ ถ้าคนนั้นไม่เป็นศาสดาทางกฎหมาย ก็จะเป็นคนวิกลจริต…" ไชยพัฒน์ ธรรมชุตินันท์ เล่าชีวิตอีกแง่มุมหนึ่งของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในฐานะอาจารย์สอนกฎหมายและผลงานตำรากฎหมายที่เต็มไปด้วยเกร็ดเรื่องเล่า
Tweet media one
0
1
2
@the101_world
the101.world
4 days
“โลกจะเสียโอกาสอะไรเมื่ออเมร���กาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก?” “ถ้าตอบแบบกลางๆ ก็ต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับ ‘น้ำยา’ ของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่กับความสามารถในการปรับตัวขององค์การอนามัยโลก เพราะสิ่งหนึ่งที่น่าจะชัดเจนคือองค์การอนามัยโลกไม่ใช่แหล่งทุนเพื่อการสู้ปัญหาสุขภาพโลก ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกไม่เคยทำงานโดยใช้เงินเป็นเครื่องมือสำคัญ แต่ก็ต้องการเงินเอามาใช้เพื่อให้ทำงานที่ควรทำได้” “แน่นอนว่าความเข้มแข็งของกลไกภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ย่อมมีชะตากรรมไปพร้อมกับกลไกใหญ่ภายใต้ระบบสหประชาชาติ แต่โจทย์ที่น่าสนใจคือการทำงานร่วมกันและความเข้มแข็งของแต่ละประเทศในเรื่องสุขภาพ ที่อย่างน้อยเคยเกิดผ่านสำนักงานภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ว่าจะสามารถปรับตัวหรือรวมตัวกลายเป็นกลไกใหม่ระดับภูมิภาคที่ระดมทรัพยากรและความเข้มแข็งทางวิชาการ จนเล่นบทในลักษณะที่เคยเกิดในกลไกองค์การอนามัยโลกได้ไหม” นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ชวนตอบคำถามสองข้อหลังอเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก จะเกิดอะไรขึ้นกับระบบสุขภาพโลก และอเมริกาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ด้วยการไล่เรียงเรื่องราวขององค์การฯ ตั้งแต่ที่มาที่ไป ไปจนถึง ‘การเมือง’ ในนั้น อ่านได้ที่ ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น
Tweet media one
0
0
0
@the101_world
the101.world
5 days
เช้าวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง จะมีคำพิพากษาคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัลกรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในคดีปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ที่มาของคดีเกิดขึ้นหลังจากอนุกรรมการ กสทช. รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 ว่าพบโฆษณาระหว่างกดเปลี่ยนช่อง ซึ่งอนุกรรมการ กสทช. ตรวจสอบข้อเท็จจริง และออกหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์และวิทยุทุกราย ให้ตรวจสอบการแพร่เสียงและภาพผ่านการรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet TV Box) และแอปพลิเคชัน TRUE ID และเรียกให้บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เข้าชี้แจง จากนั้น บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ก็เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ในความผิดฐานเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ภาคเอกชนเกิดความเสียหาย เป็นคดีเลขที่ อท. 147/2566 ไม่ว่ารายละเอียดเรื่องนี้ใครจะถูกหรือผิด ผลแพ้หรือชนะจะเป็นอย่างไร แต่รูปธรรมที่ออกมาแล้วคือ การรับฟ้องคดีนี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า กลไกการกำกับดูแลขององค์กรอิสระเกิดขึ้นไม่ได้ อ่านบทความต่อได้ที่: เรื่อง: อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา ภาพ: จิราภรณ์ บุญเย็น #ทรู #กสทช #พิรงรองรามสูต #The101world #วันโอวัน
Tweet media one
0
53
19
@the101_world
the101.world
5 days
▶️ ชมรายการเต็ม: เลือกตั้ง อบจ. นับหนึ่งสู่เลือกตั้ง 2570 | 101 One-on-One EP.353
0
0
0
@the101_world
the101.world
5 days
ว่ากันด้วยเรื่องผู้กำกับภาพในไทย คงยากจะไม่เอ่ยถึงชื่อของ สยมภู มุกดีพร้อม กับ หม่อมราชวงศ์ อัมพรพล ยุคล ประการแรก ทั้งสองเป็นผู้กำกับภาพที่คร่ำหวอดในวงการหนังไทยยุคต้นทศวรรษ 2000s และอยู่ในช่วงรอยต่อช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการใช้กล้องฟิล์มมาสู่กล้องดิจิทัล ประการที่สอง -ทั้งสยมภูและอัมพรพลยังเป็นผู้กำกับภาพชาวไทยในสนามภาพยนตร์โลก กับสยมภู เราอาจคุ้นเคยงานเขาจากงานของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หลายต่อหลายเรื่องทั้ง ‘สุดเสน่หา’ (2002), ‘ลุงบุญมีระลึกชาติ’ (2010) และ Memoria (2021) รวมทั้งหนังฮอลลีวูดของ ลูกา กัวดัญญีโน กับภาพอุ่นร้อนของซัมเมอร์อิตาลีใน Call Me by Your Name (2017), Suspiria (2018), Challengers (2024) และ Queer (2024) พร้อมกันนี้ หลายคนก็คงจดจำงานภาพของอัมพรพลได้จากภาพเมืองพังงาใน Wonderful Town (2007), แม่น้ำที่ชายหญิงล่องเรืองจาก ‘ที่รัก’ (2010), ห้องพักเล็กแคบใน ‘แต่เพียงผู้เดียว’ (2011), ภาพฝันฟุ้งของความทรงจำอันพร่าเลือนของ ‘Snap แค่…ได้คิดถึง’ (2015) ตลอดจน ะสีหน้าแตกสลายของเด็กสาวบนรถเหาะปลาหมึกจาก Where We Belong (2019) วันโอวันเก็บประเด็นจากงานเสวนา ‘ช่องว่างระหว่างเฟรม : มุมมองหายากจากผู้สร้างภาพยนตร์ระดับโลก’ โดยคิก เดอะ แมชชีน ฟิล์ม ร่วมกับฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการ วัน แบงค็อกในเทศกาลหนังทดลองกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 ว่าด้วยการกำกับภาพ สู่ประเด็นใหญ่อย่างที่ทางของผู้คนในอุตสาหกรรมหนังไทย และคนทำหนังรุ่นต่อไปนับจากนี้ต้องเผชิญ #BEFF7 #BEFF #เทศกาลหนังทดลองกรุงเทพ #The101world #วันโอวัน
Tweet media one
0
1
1