Bus_Te Profile Banner
บัส เทวฤทธิ์ Profile
บัส เทวฤทธิ์

@Bus_Te

Followers
6K
Following
1K
Statuses
19K

เทวฤทธิ์ มณีฉาย ENFJ เล่นกีฬาเป็นเป็ดทุกชนิด ฯลฯ

Joined September 2009
Don't wanna be here? Send us removal request.
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
12 hours
(ต่อ) รัฐธรรมนูญ 2560 มีปัญหาทั้งที่มาซึ่งถูกขีดเขียนโดยคนไม่กี่คน กระบวนการซึ่งไม่เสรีและเป็นธรรมตามกระบวนการประชาธิปไตยสากล การทำประชามติ 2559 อยู่ภายใต้คณะรัฐประหาร เอาการเลือกตั้งเป็นตัวประกันว่าถ้าไม่รับก็จะได้เลือกตั้งช้ากว่าเดิม รัฐธรรมนูญนี้ยังทำให้ประชาชนอ่อนแอในอำนาจและสิทธิเสรีภาพ เพราะออกแบบโครงสร้างรัฐที่ทำให้อำนาจของประชาชนถูกครอบงำจากอำนาจที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นวุฒิสภา ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ขาดการกระจายอำนาจ และการมียุทธศาสตร์ชาติที่ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลไม่เป็นอิสระ . โฆษกพรรคประชาชนยังระบุว่าในเรื่องสิทธิเสรีภาพทั้งการแสดงออกและทางวิชาการก็ลดลง ซ้ำยังมี ม.279 ที่ทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพของ คสช. ถูกกฎหมาย รวมถึง ม.25 ที่สามารถจำกัดสิทธิเสรีภาพได้ในนามของความมั่นคง และถ้าถามว่าทำไมไม่แก้รายมาตรา ในเมื่อปัญหามีมากแก้ทั้งฉบับน่าจะง่ายกว่า เหมือนถ้าบ้านมีรูรั่วมากก็สร้างใหม่ดีกว่า ประชาชนจะได้รู้สีกร่วมเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ด้วย . พริษฐ์เปิดเผยว่า เรื่องจะทำประชามติกี่ครั้งมาจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ปลายปี 2567 ตนไปคุยกับประธานรัฐสภาเรื่องนี้ โดยรวบรวมข้อมูลหลักฐานอื่น ๆ มาประกอบ ได้แก่ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน มี 5 คนที่พูดชัดเจนว่าให้ทำประชามติ 2 ครั้ง มี 2 คนที่พูดคล้ายคำวินิจฉัยกลางซึ่งกำกวม มี 1 คนที่บอกว่าให้ทำ 3 ครั้ง และอีก 1 คนบอกว่าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ได้เลย แสดงว่าตุลาการส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า 2 ครั้งพอ แผนภาพของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเองก็บอกว่าทำประชามติแค่ 2 ครั้งพอ ความเห็นของนักวิชาการอย่าง อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณก็บอกว่าให้ทำ 2 ครั้งโดยแบ่งคำถามประชามติเป็น 2 คำถาม รวมถึงผลการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีใครบอกว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง และมีบันทึกการประชุมไว้ด้วย เมื่อนำข้อมูลหลักฐานเหล่านี้ไปแสดงให้ดูประธานรัฐสภาก็ยอมรับ ตนยืนยันว่าการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำได้ คำวินิจฉัยกลางก็เขียนไว้เช่นนั้น การทำประชามติก็ทำก่อนและหลังแก้รัฐธรรมนูญโดยถามว่าต้องการให้มี สสร. มาแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ . สำหรับรูปแบบของรัฐธรรมนูญใหม่นั้น พริษฐ์เสนอว่า ข้อเสนอหลักคือมีการเสนอตั้ง สสร. ส่วนข้อเสนอรองคือการแก้รายมาตรา ให้มี สสร. เลือกตั้งทั้งหมด แบ่งเป็น สสร. เขตจังหวัด 100 คน และ สสร. เขตประเทศ 100 คน พรรคประชาชนเห็นว่า สสร. ควรมีอำนาจทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ยกเว้นการเปลี่ยนระบอบการปกครองหรือรูปแบบรัฐ ซึ่งเขียน ม.15/1 ป้องกันไว้ จึงไม่จำเป็นต้องห้ามแก้หมวด 1 – 2 ซึ่งสองหมวดนี้ก็เคยมีการแก้ถ้อยคำมาตลอด หากไม่เห็นด้วยก็รับหลักการไปก่อนแล้วค่อยแก้ไขได้ . ในฟากฝั่งของภาคประชาชนอย่างภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล จากเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL) เปิดเผยว่าที่ผ่านมามีการยื่นแก้รัฐธรรมนูญมาตลอด หลังการเลือกตั้ง 2566 มีความหวังอยู่บ้างเพราะรัฐบาลแถลงไว้ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญแต่ก็ต้องผิดหวังมา 2 ปี ทุกวันนี้กว่า 2 ���สนรายชื่อนอนนิ่งอยู่ตั้งแต่ยุคนนายกฯ เศรษฐา ประชาชนต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. จากการเลือกตั้งทั้งหมด วันที่ 13 – 14 กุมภาพันธ์นี้เรามีความหวังใหม่อีกครั้ง เป็นนัดชี้ชะตาว่าจะได้แก้รัฐธรรมนูญก่อนเลือกตั้งปี 2570 หรือไม่ พร้อมชี้ว่าวาระแรกสภาฯ ควรให้ผ่านไปทั้งสองร่าง และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปร่วมถกเถียงด้วย แต่ตนติดใจร่างของพรรคเพื่อไทย แม้จะคำนึงถึงความกล้าหาญของพรรคการเมืองด้วยก็ตาม แต่จะอ้างว่าจะให้อำนาจประชาชนได้อย่างไร เพราะร่างนี้ตีกรอบอำนาจของ สสร. ไว้ก่อนแล้ว ฉะนั้นรัฐธรรมนูญใหม่จึงไม่ได้เกิดจากความต้องการของประชาชนทั้งหมด แต่ร่างอยู่ในกรอบจำกัดที่นักการเมืองอนุญาต จึงไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง . ที่มาของรัฐธรมนูญ 2560 มีปัญหาอยู่แล้วเพราะคนที่ออกไปรณรงค์คัดค้านก็โดนจับ จึงอ้างไม่ได้ว่าเป็นประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญก็ถูกแก้ไปแล้วก่อนประกาศใช้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านประชามติ 2559 กับรัฐธรรมนูญ2560 ก็เป็นคนละฉบับกัน ทำให้ประชาชนรู้สึกห่างเห็นว่าแก้รัฐธรรมนูญเองไม่ได้ ต้องรอให้ใครอนุญาต เนื้อหาอย่าง ม.279 ก็จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ทำให้ไม่สามารถทางคืนความยุติธรรมให้ผู้ที่ถูก คสช. ละเมิดได้ . รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในหมวดสิทธิเสรีภาพมี “เว้นแต่...” ห้อยท้าย แล้วจะบอกว่ามีสิทธิเสรีภาพจริง ๆ ได้อย่างไรถ้ายังต้องคำนึงว่าจะกระทบความมั่นคงหรือไม่ คนเขียนรัฐธรรมนูญไม่ได้มองว่าประชาชนสำคัญที่สุด แต่ต้องถูกควบคุม ทำให้ประชาชนไม่ปลอดภัยและไม่เป็นเจ้าของอำนาจจริง ๆ การแก้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดต้องให้ประชาชนร่างใหม่ทั้งฉบับ . (มีต่อ)
0
0
0
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
17 hours
[ 3 ฝาก แก้รัฐธรรมนูญ วาระสำคัญเพื่อขจัดมรดกรัฐประหาร ] . ก่อนที่จะมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เปิดทางให้มีการเลือกตั้ง สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ผมมีประเด็นสำคัญที่อยากฝากดังนี้ . 1. ฝากถึงรัฐบาล ขอให้นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลออกมาส่งเสียง พูดถึงเรื่องรัฐธรรรมนูญสักครั้งก่อนการประชุมร่วมรัฐสภา ให้สมกับที่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายรัฐบาลที่แถลงเอาไว้เมื่อ 12 กันยายน 2567 . 2. ฝากถึงสภาผู้แทนราษฎร การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ เข้าใจว่าแม้ สส. บางพรรคจะยังมีความกังวล แต่อย่างน้อยก็ขอให้มาเป็นองค์ประชุม . 3. ฝากถึงวุฒิสภา ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่วาระการแก้รัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การพิจารณาของ สว. ชุดปัจจุบัน หลังถูกตีตกอย่างต่อเนื่องในสมัย สว. ที่มาจาก คสช. . วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สว. ชุดนี้จะแตกต่างจากชุดที่แล้ว ซึ่งเป็น "องครักษ์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ฉบับรัฐประหารหรือไม่ . สว. หลายคนอาจกังวลว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นการละเมิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4/2564 หรือไม่ ตอบได้ตรงนี้เลยว่า "ไม่" เพราะการแก้ไขมาตรา 256 และหมวด 15/1 เป็นเพียงการแก้ไขรูปแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น ไม่ใช่การทำรัฐธรรมนูญใหม่ จึงสมเหตุสมผลที่จะแก้ ม.256 แล้วไปถามประชาชนอีกครั้ง เป็นประชามติ 2 ครั้งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุ . ดังนั้นไม่จำเป็นที่ สว. จะต้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าสภาต้องทำประชามติกี่ครั้ง หรือสภามีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ เชื่อว่าสภาสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องให้ครูสอน . นอกจากนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยังไม่ใช่การ "ตัดอำนาจ" สว. หากแต่เป็นการทำให้อำนาจเสมอเหมือน สส. และ สว. ชุดที่ผ่านมายังเคยลงมติลักษณะนี้มาก่อนนับร้อยราย . อีกประการสำคัญ คือ ทั้งร่างของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในชั้นรับหลักการที่สภา กำลังจะโหวตกันนั้นมีเพียงหลักการสำคัญในเรื่องการเลือกตั้ง สสร. เท่านั้น ประเด็นอื่นสามารถปรับแก้หรือแปรญญัติต่อไปในวาระ 2 จึงไม่มีข้อกังวลใด ๆ และไม่ควรปลุกความกลัว . ที่ผ่านมาประชาชนมีความพยายามแก้รัฐธรรมนูญมาทุกยุคทุกสมัย แต่กลับถูกช่วงชิงด้วยการรัฐประหาร ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประชาชนจะสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกันอีกครั้ง เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นของประชาชน
Tweet media one
1
6
7
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
20 hours
Tweet media one
0
0
2
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
2 days
[ นิติรัฐนิติธรรมในสังคมไทย ความยุติธรรมเป็นอย่างไรในสายตาประชาชน] . ทีมงานสมาชิกวุฒิสภา เทวฤทธิ์ มณีฉาย ร��วมกิจกรรมเสวนาที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีสองเวทีที่ถ่ายทอดมุมมองเรื่อง “ความยุติธรรม” จากเลนส์ที่แตกต่างกัน คือภาคประชาชนและนักวิชาการ แต่กลับมีความสอดคล้องกันอย่างมาก . เริ่มจากเวที “ความยุติธรรมจากมุมมองของประชาชน” วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) สะท้อนถึงความยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า กลุ่มลูกเหรียงเกิดจากการเห็นผู้หญิงในสามจังหวัดไม่มีทางเลือกและโอกาสในชีวิตและตกเป็นเหยื่อความรุนแรง จึงก่อตั้งบ้านลูกเหรียงขึ้นเพื่อให้ผู้หญิงได้เรียนหนังสือและเพิ่มโอกาสในชีวิต ตลอดจนดูแลเด็กในพื้นที่ เราต้องสร้างความเข้าใจเรื่องความยุติธรรม หลักนิติธรรม และสิทธิให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก ๆ และใช้ภาษาง่าย ๆ ซึ่งเด็กก็มีสิทธิจะมีชีวิตรอด ด้านสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้อำนวยการมูลนิธิกระจกเงา กล่าวถึงความยุติธรรมผ่านโครงการของมูลนิธิฯ คือโครงการ “จ้างวานข้า” ที่สร้างอาชีพให้กับผู้ที่ถูกคัดออกจากระบบการผลิตอย่างคนไร้บ้านหรือผู้สูงอายุ ที่พยายามแก้ไขปัญหาโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง . สมบัติเสนอว่า ต้องทำให้เรื่องที่ไม่ยุติธรรมเป็นเรื่องที่รับรู้และเข้าใจได้ ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมต้องหาพวกมากในระดับหนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ จึงต้องอธิบายเรื่องนี้ให้คนรับฟัง และเมื่อเกิดปรากฏการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงคนจะออกมาเอง แต่ขณะนี้สังคมเราอยู่กันคนละโลกแล้วก็หากินกันไป . ขณะที่บุษยาภา ศรีสมพงษ์ นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน ขับเคลื่อนประเด็นความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ผู้ก่อตั้งองค์กรชีโร่ (SHero) ชี้ว่าตนอยากเห็นผู้หญิง เด็ก และผู้ชายได้รับความยุติธรรมและความปลอดภัย พร้อมชี้ว่าความรุนแรงทางเพศควรเป็นประเด็นแห่งชาติ และอยากให้ไปถึงวันหนึ่งที่องค์กร SHero จะไม่จำเป็นอีกต่อไป จึงควรสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน หากภาครัฐทำเองไม่ได้ก็ควรลดหย่อนให้ภาคประชาสังคมที่ทำหน้าที่อยู่ ควรให้การศึกษาเรื่องเพศสภาพกับเด็ก หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม . อีกประเด็นหนึ่งคือความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ชำนัญ ศิริรักษ์ นักกฎหมายและทนายความอิสระด้านสิ่งแวดล้อม สะท้อนว่าความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมคือความเสมอภาคและเท่าเทียมในการใช้ทรัพยากร แต่กลไกโครงสร้างของระบบไม่ได้ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดี กฎหมายมีแต่หน่วยงานในระบบโครงสร้างกฎหมายไม่ทำงาน ทำให้เกิดผลกระทบต่อชาวบ้านและนำไปสู่การฟ้องคดี . ชำนัญเสนอว่า ต้องปรับทัศนคติของผู้ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความยุติธรรมหรือความเชื่อที่ต่างกัน หลักการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องคือใช้เท่าที่จำเป็นและเผื่อคนรุ่นถัดไป เราอย่าเพิ่งรอให้ความไม่เป็นธรรมมาถึงตัวเราแล้วค่อยรู้สึก . ส่วนประเด็นเรื่องความยุติธรรมเด็กและเยาวชนนั้น ทิชา ณ นคร ผู้อํานวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก ตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรม โดยชี้ว่าในบ้านกาญจนาภิเษกมีต้นโพธิ์อยู่ต้นหนึ่งซึ่งมีน้ำแดงเต็มไปหมด ไม่รู้ว่าเด็ก ๆ มาบนบานอะไร แต่ปัจจุบันไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้ว เพราะเมื่อความยุติธรรมปรากฏสิ่งเหล่านี้ก็ไม่จำเป็น แล้วคนในกระบวนการยุติธรรมไม่อายหรือที่สิ่งหลักนี้ศักดิ์สิทธิ์เหนือความยุติธรรม พร้อมยกตัวอย่างกรณีของเนติพร เสน่ห์สังคม (บุ้ง ทะลุวัง) เป็นกรณีศึกษาถึงวิกฤตศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม เมื่อหนึ่งคนไม่ปลอดภัยประเทศก็ไม่ปลอดภัย พร้อมระบุว่าคนที่ TIJ ควรเชิญมาพูดที่สุดคือทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (ตะวัน) เด็ก ๆ ทุกคนอยู่ในสมการของกระบวนการยุติธรรม จะหลงลืมไม่ได้ ถ้าเราปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้ดำเนินต่อไปแรงดันนี้จะกลายเป็นระเบิด . ในเวทีต่อมา “‘นิติรัฐนิติธรรม’ กับการสร้างประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจ” รศ. ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่าไทยไปลอกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาจากต่างชาติ แต่การบังคับใช้และตีความกฎหมายมีหลายกรณีมากที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ หากเรารู้สึกว่ามีการเลือกปฏิบัติ เช่น การลงโทษ อ.พิรงรองตาม ม.157 โดยไม่รอลงอาญา แต่กรณีอื่นที่ร้ายแรงกว่ากลับลงโทษน้อยกว่าและให้ลงอาญา ก็จะเกิดคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม รวมถึงคดีการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ การรักษานิติรัฐนิติธรรมไม่ใช่หน้าที่ของนักกฎหมายหรือศาล แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทั่วไป กฎหมายใดที่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนต้องแก้ไข รวมถึงรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดด้วย ทั้งนี้การรักษานิติรัฐนิติธรรมเป็นหน้าที่ขององค์กรซึ่งเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ในระบอบประชาธิปไตยประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ตนยังคงเชื่อมั่นในประชาชนที่จะลุกขึ้นมาช่วยเหลือตนเอง . ด้าน รศ. ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่านิติรัฐนิติธรรมคือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอหน้ากับทุกคน แต่ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเช่นนั้น ไทยมีการการใช้กฎหมายกำจัดศัตรูทางการเมือง มีสองมาตรฐาน เร่งลงโทษฝั่งตรงข้ามโดยไม่ได้สัดส่วน ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือดังที่เรียกว่านิติสงครามหรือฟ้องปิดปาก รวมทั้งมีกฎหมายเฉพาะทางที่ไม่เป็นธรรมทั้งตัวกฎหมายและการบังคับใช้ เช่น กฎหมายที่ดิน มีตุลาการภิวัตน์หรือตุลาการวิบัติ พร้อมเสนอให้เพิ่มพื้นที่ของประชาชนและจะให้กฎหมายมากำกับพื้นที่ของประชาชนน้อยลง . ขณะที่ รศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่านิติรัฐนิติธรรมสำคัญมากขึ้นเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจไทยไปอีกระดับหนึ่ง การสร้างนิติรัฐนิติธรรมจะทำให้ทุกคนมีต้นทุนต่ำที่สุดในการปฏิสัมพันธ์กัน มีความไว้วางใจกัน ธุรกิจสแกมเมอร์สร้างรายได้มหาศาลมาก คำถามคือเราอยากทำธุรกิจเช่นนั้นไหม ตนเชื่อว่าการสร้างและสื่อสารความรู้มีพลัง ตนเริ่มสนใจการเมืองก่อนการรัฐประหาร 2549 พบว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปมหาศาลในช่วง 15 ปี ในกระบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นมีบางปัจจัยที่ชนชั้นนำคุมไม่ได้ คือ การเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้พวกเราและชนชั้นนำประหลาดใจตลอด ตั้งแต่เลือกตั้งท้องถิ่นถึงเลือกตั้ง 2570 เราต้องรณรงค์เพื่อให้คนเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ เพื่อจะกะเทาะรัฐไทยได้ การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและวัฒนธรรมมีมากจนไม่อาจกลับคืนมาได้แล้ว . ส่วน รศ. ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าความเป็นไทยคืออุปสรรคของนิติรัฐนิติธรรม เพราะสังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ มีคนระดับล่างและเครือข่ายอำนาจ กฎหมายไม่เคยใช้อย่างเท่าเทียม หลังรัฐประหาร 2549 มีเสียงวิจารณ์ระบบนิติรัฐนิติธรรมของไทยมากขึ้น จุดยืนการเมือง กลุ่มก้อน และสีมีความสำคัญมาก ถ้าเป็นคนที่จุดยืนถูกจะถืออาวุธมาไล่ยิงคนก็ได้ แต่ถ้าจุดยืนผิดต่อให้ประท้วงโดยสันติก็ถูกหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ใครที่ละเมิด ม.112 หรือ 116 ก็คาดเดาได้ว่าจะเกิด���ลอย่างไร เพราะยิ่งพูดจริงก็ยิ่งผิด สิทธิเสรีภาพของคนมีความหมายน้อยกว่าความมั่นคงของรัฐ นอกจากนี้ปัจจุบันเราเห็นบทบาทของทุนในการกำกับกฎหมายมากขึ้น หรือกฎหมายเอื้อมมือไม่ถึงจะควบคุมเอกชน ต่อให้เอกชนนั้นจะก่อมลพิษหรือสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนหรือ��กิดทุนใหญ่ผูกขาดก็ตาม ปัจจุบันทุนใหญ่มากขึ้นจนมั่นใจตนเอง ทำอะไรก็ได้โดยไม่สนว่าประชาชนจะคิดอะไร ความเป็นไทยไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ ไม่เคยมองคนเท่ากัน ให้อภิสิทธิ์กับคนกลุ่มหนึ่ง เราไม่สามารถสร้างนิติรัฐได้ถ้าไม่มีประชาธิปไตย ต่อให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็กลับไปจับมือกับผู้มีอำนาจโดยไม่กล้าแตะต้อง
Tweet media one
0
0
4
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
2 days
@Nok_BKK แต่เขาเหล่านั้นเป็นผู้มีอำนาจให้คุณให้โทษเรานะครับ
0
0
0
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
2 days
@tripleppp1137 ใช่ครับ แต่ถ้าพรรคร่วมประกาศหนักแน่น ในฐานะที่เป็นนโยบายรัฐบาล คิดว่า สว จะฟัง
0
0
0
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
2 days
ที่อยากให้จี้นายกฯพูดเรื่องรัฐธรรมนูญ แทนที่จะไปวุ่นเรื่องการแต่งกายเขา เพราะสัปดาห์หน้าสภาจะพิจารณาร่างแก้256แล้ว ยังเงียบมากๆ ทั้งที่เป็นนโยบายรัฐบาล และเราต่างรู้ว่าข้อถกเถียงมันถอยจากปี 63 มาเท่าไหร่
4
215
241
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
2 days
[ พิรงรอง Effect กับอนาคตทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ] . วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมงานสมาชิกวุฒิสภา เทวฤทธิ์ มณีฉาย ร่วมกิจกรรมเสวนา “พิรงรอง Effect ทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อต่อจากนี้...” จัดโดยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact Thailand ระวี ตะวันธรงค์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ประวีณมัย บ่ายคล้อย ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 . ก่อนการเสวนามีการอ่านแถลงการณ์ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแสดงจุดยืนปกป้อง ศ. กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต คณะกรรมการ กสทช. หลังถูกศาลตัดสินมีความผิดต้องโทษจำคุก 2 ปี จากกรณีทรูไอดีฟ้องว่ากลั่นแกล้งทำให้เสียหาย โดยชี้ว่า กสทช. เป็นองค์กรที่สังคมคาดหวังให้มีความเป็นอิสระทางจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นความท้าทายของ กสทช. และผลของคดีความทางกฎหมายที่เกิดขึ้น ก็อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นและการทำงานของ กสทช. รวมถึงองค์กรอิสระอื่น ๆ ในฐานะที่พึ่งของประชาชนในอนาคต ซึ่งอาจเป็นการขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นสังคม โดยพยายามทำให้เกิดความกดดันและความกลัว คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้แสดงจุดยืนสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ในการปฏิหน้าที่ด้วยความสุจริต ยึดมั่นในหลักการ และปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของสาธารณะ . การเสวนาในภาพรวมเป็นการแสดงความเห็นต่อคดีของ ศ.ดร.พิรงรอง โดยเริ่มจากสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ กสทช. และผู้ร่วมก่อตั้ง Co-fact Thailand เห็นว่าการเสียสละของ ศ.ดร.พิรงรองได้ผลักดันให้สังคมเกิดการตั้งคำถามกับหลากหลายประเด็น ทั้งเรื่องหลักกระบวนการยุติธรรม เรื่องการทำหน้าที่และธรรมาภิบาลของ กสทช. ซึ่งตนมองว่าวิกฤตมาหลายปีแล้ว ไปจนถึงเรื่องอนาคตวงการสื่อสารโทรคมนาคมไทย สังคมต้องไม่ปล่อยให้เรื่องนี้เป็นคลื่นกระทบฝั่ง ต้องเล่นเกมระยะยาวและต้องช่วยกันสู้ต่อไป . สุภิญญายังประเมินว่า ศ.ดร.พิรงรองทำตามกฎ Must Carry ที่ผู้แพร่ภาพต่อต้องทำแบบ pass through คือไม่เติมแต่ง แต่ปัญหาคือการบริการแบบผ่านอินเทอร์เน็ต (Over The Top หรือ OTT) ยังไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลทั้ง ๆ ที่ กสทช. ควรทำมาตั้งนานแล้ว ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ กสทช. ชุดก่อนก็เตรียมจะกำกับดูแล OTT แต่เนื่องจากอยู่ภายใต้คณะรัฐประหาร สังคมจึงคลางแคลงใจว่าจะกลายเป็นการปิดกั้น ยุคนั้นสังคมจึงเข้าข้าง OTT ที่เป็นสื่อทางเลือก แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป กลายเป็นว่าเรากังวลว่าจะเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพราะรายได้จะไหลออกไปยัง streaming ต่างชาติ สังคมจึงอยากให้กำกับดูแล ศ.ดร.พิรงรองก็พยายามผลักดันเรื่องนี้ จึงต้องรับผลกระทบอย่างหนักหน่วง และต้องต้องหาสมดุลระหว่างการกำกับดูแล สิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมในการทำธุรกิจ หากผู้ประกอบการไทยไม่สนับสนุนก็จะไม่มีที่ยืนเพราะต้องสู้กับต่างชาติ . หาก กสทช. ไม่ผลักดันให้สร้างกติกาที่เป็นธรรมก็จะส่งผลต่อทุกฝ่าย กสทช. ต้องลุกขึ้นมาท���งาน และสนับสนุน อ.พิรงรองให้ทำงาน ไม่ใช่ปล่อยให้โดดเดี่ยว เพราะจะส่งผลทางจิตวิทยา สำนักงาน กสทช. ต้องสร้างบรรยากาศปลอดภัยในการทำงาน คดีก็ปล่อยไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่คนต้องทำงานได้ ตนอยากเรียกร้องถึงภาคเอกชนว่าการใช้กฎหมายห้ำหั่นกันมีแต่เสียกับเสีย ควรใช้การเจรจาเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทุกฝ่ายและผู้บริโภค . รศ.ดร.ณรงค์เดชกล่าวถึงแง่มุมทางกฎหมายว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นกรณีที่พิเศษและไม่ปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดมุมมองว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องอย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี หลาย ๆ ปัญหาในประเทศต่อให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนปฏิบัติหน้าที่สุจริตแต่อยู่เฉย ๆ เพราะกลัวถูกฟ้องทั้ง ๆ ที่ต้องคุ้มครองประชาชน สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ดี กสทช. ต้องคุ้มครองประชาชน ผู้ประกอบการต้องมีโฆษณาจึงจะอยู่ได้ แต่โฆษณามากเกินไปก็ไม่ได้ กรณีนี้จึงเป็นการขู่เจ้าหน้าที่รัฐ สุดท้ายถ้าจะทำงานให้ปลอดภัยทั้งองค์กรจะต้องร่วมมือกัน ถ้าองค์กรเป็นแบบนี้จะลำบากเพราะไม่รู้ว่าจะมีใครในองค์กรแอบไปบอกสื่อหรือนายทุนหรือไม่ . (มีต่อ)
Tweet media one
0
34
51
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
2 days
วานนี้ (7 ก.พ.) ได้มีโอกาสร่วมประชุม คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ ประมงฯ ในฐานะกรรมาธิการ โดยช่วงเช้า เป็นการให้ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ นักวิชาการ มาชี้แจง ส่วนช่วงบ่ายเป็นการให้ผู้แปรญัตติมาชี้แจงประกอบคำแปรฯ ทั้งนี้มีประเด็นที่ยังเป็นข้อถกเถียง เช่น ม.69 อวนล้อมจับตาถี่ในเวลากลางคืนพร้อมไฟล่อนอกเขต 12 ไมล์ทะเล ม.66 เรื่องสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม เรื่องเขตทะเลชายฝั่งและบทกำหนดโทษ เป็นต้น โดยการประชุมครั้งต่อไป 12.30 น วันที่ 11 ก.พ.นี้ จะเป็นการลงมติในรายมาตราของ กมธ.
Tweet media one
Tweet media two
Tweet media three
1
6
19
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
4 days
เลื่อน(ตอบกระทู้)แล้ว เลื่อนอยู่ เลื่อนต่อ ไม่เป็นไร แต่ขอให้เร่งแก้ได้จริง - -'' วันนี้ (7 ก.พ.) ผมได้รับหนังสือแจ้งจาก ฝ่ายเลขาฯ วุฒิสภา ว่า กระทู้ "การบังคับใช้กลไกหรือมาตรการทางกฏหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในการชะลอหรือยับยั้งการดำเนินคดีแก่ผู้มีแรงจูงใจทางการเมือง เพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่อาจเยียวยาได้ในภายหลังหรืออาจเยียวยาได้ยากภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งของสังคมไทยที่ยังไม่ได้ข้อยุติ" ซึ่งถาม รมว.ยุติธรรมนั้น ไม่อาจบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมได้ เนื่องจากมีกระทู้ที่บรรจุไว้แล้วคือ กระทู้ "อุปสรรคของการผลักดันการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ และแนวทางในการผลักดันนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงในอนาคต" ถาม รมว.แรงงาน ที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมวันที่ 10 ก.พ.นี้แล้ว อย่างไรก็ตาม วันนี้เช่นกันได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า รมว.แรงงานขอเลื่อนไปตอบวันที่ 10 มี.ค.แทน ทำให้ที่ 10 ก.พ.นี้ ไม่มีทั้งกระทู้ อำนวยความยุติธรรมให้ผู้มีแรงจูงใจทางการเมืองฯ และค่าแรง 400 บาท ฯ ทั้งนี้กระทู้ค่าแรง 400 บาท ก็เพิ่งได้รับการเลื่อนคิวจากกระทู้ "ปัญหาปัญหาการควบคุมการระบาดของปลาหมอคางดำ มาตรการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรและชาวประมง รวมทั้งการแสวงหาผู้รับผิดชอบ" เนื่องจาก รมช.เกษตรฯ (อัครา พรหมเผ่า) เลื่อนตอบจากวันที่ 3 ก.พ. ไปเป็น วันที่ 24 ก.พ.แทน และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเลื่อนมาหลายครั้งแล้ว จากเดิมถูกเลื่อนมาหลายครั้งและ รมช.เกษตรฯ ว่าจะมาตอบวันที่ 3 ก.พ.นี้ ปรากฏขอเลื่อนไปวันที่ 24 ก.พ.แทนอีกแล้วสำหรับกระทู้นี้ โดยถ้านับครั้งแรกที่ยื่นตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 67 แต่ตอนนั้น รมว.เกษตรฯ ธรรมนัส ต้องพ้นจากตำแหน่งตามนายกฯ เศรษฐา ทำให้กระทู้ตกไป จากนั้นหมดสมัยประชุม จึงได้ยื่นเข้าใหม่อีกครั้งในสมัยประชุมที่ 2 ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่ก็ถูก รมต. เลื่อนตอบมาหลายครั้ง อาจเลื่อนจนกว่าแก้ปัญหาและชดเชยเยียวยาประชาชน รวมทั้งหาคนมารับผิดชอบการระบาดของปลาหมอคางดำได้ ซึ่งเป็นเรื่องดีและหวังว่าจะเร็วๆ เพราะนั่นคือเป้าหมาย
Tweet media one
Tweet media two
0
6
7
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
4 days
[ จับตา กมธ. พรบ. ประมงฯ เชิญหลายฝ่ายร่วมชี้แจง แกนนำประมงพื้นบ้านเตรียม 170 ข้อสังเกตถึงวุฒิสภา เผยถูกฝ่ายหนุนประมงพาณิชย์ทำร้าย ย้ำทะเลไทยเป็นของทุกคน ] . วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.00 น. ที่อาคารรัฐสภา ฝั่ง สว. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นำมวลชนเครือข่ายประมงพื้นบ้านร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ทบทวนมาตรา 69 ที่ระบุให้ใช้อวนล้อมจับที่มีช่องตาเล็กกว่า 2.5 ซม.ได้ รวมถึงใช้งานในเวลากลางคืน . ซึ่งในวันนี้ กมธ.วิสามัญฯ ได้เชิญตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ มาร่วมชี้แจง ประกอบด้วยสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงสมุทรสงคราม สมาคมการประมงสมุทรสาคร มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมาคมรักษ์ทะเลไทย และสมาคมอวนล้อมจับปลากะตัก . ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าในวันนี้มารวมตัวกันเพื่อคัดค้านมาตรา 69 โดยวันนี้ได้เตรียมข้อมูลมาชี้แจงวุฒิสภากว่า 170 ประเด็น เช่น ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากร สัดส่วนการจับสัตว์น้ำที่ไม่เป็นธรรม เพราะปลากระตักไม่เพียงแต่���ป็นอาหารสำหรับคนแต่ยังเป็นอาหารสำหรับวาฬด้วย รวมถึงเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในภาพรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงข้อกังวลแต่จะเกิดขึ้นจริง จึงหวังว่าวุฒิสภาจะฟังคำชี้แจงจากประมงพื้นบ้านว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งหรือผลประโยชน์ แต่เป็นเรื่องแนวคิดและหลักการในการกำหนดกติกาเพื่อการทำประมงที่ยั่งยืน . ตนยืนยันว่าการแก้ไข พรก.ประมงฯ ครั้งนี้มีความไม่ชอบมาพากล เช่น ไม่มีงานวิชาการรองรับเรื่องเครื่องมืออวนล้อมจับปลากระตักเวลากลางคืน ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมี อีกเรื่องคือการให้อภิสิทธิ์เรือ 175 ลำใช้เครื่องมือนี้ โดยไม่อนุญาตให้เรือปร���มงที่ใช้เครื่องมือชนิดอื่นเปลี่ยนมาใช้เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก ซึ่งในความเป็นจริงเรือ 175 ลำนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือชนิดอื่นในการทำประมงได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อวนล้อมในเวลากลางคืน . ปิยะยังชี้ว่านอกจากนี้แนวทางการทำประมงยั่งยืนทั่วโลกกำลังพูดถึงความมั่นคงทางอาหาร สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงทรัพยากรของคนทุกกลุ่ม ดังนั้นกลไกกติกาต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมกับคนทุกภาคส่วน แต่มาตรา 69 ไม่ใช่การทำประมงอย่างยั่งยืน สุดท้ายจะไปทำลายระบบเศรษฐกิจฐานรากจนกระทั่งทำลายความมั่นคงทางอาหารในที่สุด . ปิยะเปิดเผยต่อว่าเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาตนถูกทำร้ายที่บริเวณใกล้อาคารรัฐสภาจากกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนการล้อมอวนจับปลากระตัก ได้เขวี้ยงสิ่งของ แก้ว โต๊ะ เก้าอี้ แต่ตนไม่ได้รับอันตราย ซึ่งเรื่องนี้ตนมองว่าเป็นความพยายามทำให้การเรียกร้องกลายเป็นเรื่องการทะเลาะเบาะแว้ง และเป็นเรื่องที่เป็นภัยคุกคามสำหรับแกนนำที่ออกมาปกป้องทรัพยากร จึงอยากฝากไปยังผู้ดูแลบ้านเมืองว่าเราปล่อยผ่านเรื่องแบบนี้ไปไม่ได้ . "ทะเลเป็นของพวกเราทุกคน ทุกคนมีสิทธิ์เป็นชาวประมงได้ แต่ทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะปกป้อง และคนที่ทำประมงก็ไม่มีสิทธิ์ทำลายสัตว์น้ำอนาคต เราต้องให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้กิน ได้ใช้ ได้เห็นสัตว์น้ำในทะเลเช่นเดียวกับเรา เรื่องนี้เป็นของทุกคน " ปิยะกล่าวทิ้งท้าย . อนึ่ง ความคืบหน้าล่าสุดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ของ กมธ.วิสามัญฯนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายมาตราในประเด็นเรื่อง บทกำหนดด้วยโทษ การผ่อนปรนการขนถ่ายสัตว์น้ำโดยใช้หลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกําหนด รวมทั้งบทเฉพาะกาลของกฎหมายนี้ ที่เดิมร่างของ ครม. ให้ออกกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตาม พรบ. นี้ ภายใน 120 วัน แต่เมื่อไปยังชั้นสภาผู้แทนฯ ปรับเป็น 2 ปี เป็นต้น โดยในวันนี้ได้เชิญภาคส่วนต่าง ๆ มาให้ข้อมูล จากนั้น กมธ. จะลงมติรายมาตราในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568
0
11
7
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
4 days
ภาพบอกเรื่องราวที่มีกลุ่มอาสาไปทดลองปั่นไฟล่อกลางคืน ที่ไม่ได้มีแค่ปลากระตัก แต่มีโลมาปากขวดตามมากินปลาเล็กด้วย กับข้อกังวลใน ร่าง พรบ ม.69 ที่แก้เปิดให้ใช้อวนล้อมจับที่ตาเล็กทําการประมงนอกเขต 12 ไมล์ทะเลนับจากแนวทะเล ชายฝั่งในเวลากลางคืน ภาพจากประชุม กมธ วิสามัญ พิจารณา ร่าง พรบ ประมง วันนี้ (7 ก.พ.)
Tweet media one
0
5
7
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
4 days
สงวนคำแปรญัตติ ประเด็นขอขยายการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล/เบาแสทุจริตกับ ''สื่อสาธารณะ' ป้องกันการฟ้องปิดปากที่ครอบคลุมขึ้น วันนี้(6 ก.พ.)ได้มีโอกาสเขาไปชี้แจงคำแปรญัตติ กับ กมธ.วิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ปปช. ซึ่งมีหมอชลน่านเป็นประธาน โดยผมขอตัด/เพิ่ม ม.132 เพื่อขยายกรอบการคุ้มครอง ไปยัง ผู้ที่ให้ถ้อยคำ/แจ้งข้อมูล/เบาะแส/แสดงความเห็น แต่ ''สื่อสาธารณะ' เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หากได้กระทำโดยสุจริต ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย โดยร่างเดิมคุ้มครองเฉพาะคนที่ให้ข้อมูลกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันการ 'ฟ้องปิดปาก' ให้ครอบคลุมขึ้น รายละเอียดประกอบคำแปรฯ ซึ่ง กมธ. ไม่เห็นด้วยกับคำแปรญัตติ และผมได้สงวนคำแปรไว้ เพื่ออภิปรายในที่ประชุมรัฐสภา (ขอบคุณภาพจาก อ.เอกชัย กมธ. ครับ)
Tweet media one
Tweet media two
0
6
5
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
5 days
แถลงการณ์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กรณี พิรงรอง ถูกพิพากษาจำคุก กับประเด็นความพยายามคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคสื่อ
Tweet media one
0
5
3
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
5 days
[ คำพิพากษา คดี 'ดร.พิรงรอง' กับจุดพลิกผันสำคัญการคุ้มครองผู้บริโภค ] . จากกรณีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลารนัดอ่านคำพิพากษากรณี ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ ถูกฟ้องจากบริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จ��กัด ในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 หลังปฏิบัติหน้าที่ออกหนังสือเตือนโฆษณาในช่องรายการทีวีดิจิทัลที่นำไปเผยแพร่บนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต TrueID และศาลมีคำพิพากษาจำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา และล่าสุด ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ได้รับการประกันตัวแล้วพร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศนั้น . คำพิพากษาในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดข้อกังวลใหญ่ คือ ภาคเอกชนสามารถฟ้องร้ององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลว่าประพฤติมิชอบด้วยวิธีการที่เข้าข่าย "ฟ้องปิดปาก" หรือ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) ซึ่งเป็นวิธีที่จะปิดปากไม่ให้คนวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เกิดคำถามต่อมาว่าในอนาคต องค์กรอิสระจะมี "อิสระ" ในการทำงานเพื่อตรวจสอบและกำกับดูแลภาคเอกชน โดยเฉพาะผลประโยชน์ของสาธารณะอย่างไร เมื่อการใช้อำนาจหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคกลับกลายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคโดยภาพรวมของหน่วยงานต่าง ๆ และส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อทิศทางในการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย . เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังสะท้อนว่าประเทศไทยไม่มีกลไกในการคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะกฎหมายต่อต้านการฟ้องปิดปาก (Anti-SLAPP Law) ที่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา ดังนั้นจนถึงขณะนี้องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคยังต้องสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดี จึงควรเร่งรัดให้มีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลโดยเร็ว และลดข้อครหาว่าองค์กรอิสระถูกครอบงำเบ็ดเสร็จลง . ยิ่��ไปกว่านั้นกรณีนี้ยังเป็นอีกหมุดหมายสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิผู้บริโภค ทั้งเรื่องสิทธิในการเข้าถึงบริการที่ไม่ถูกแทรกแซง สิทธิที่จะร้องเรียนหน่วยงานภาครัฐ และช่องทางต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคสามารถใช้ร้องเรียนได้ เพราะหากสังคมของผู้บริโภคเข้มแข็งกรณีเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น และเราอาจเห็นสังคมที่ผู้ให้บริการต้องใส่ใจเสียงของผู้บริโภคมากกว่านี้ . อนึ่ง อีกประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในคดีนี้ คือ การออกอากาศบนแพลตฟอร์ม TrueID เป็นการออกอากาศผ่าน Over-the-Top (OTT) ซึ่งยังไม่มีข้อกฎหมายที่จะต้องขออนุญาตจาก กสทช. และการกระทำของจำเลย (ศ.พิรงรอง) มีการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ กสทช. ออกหนังสือ โดยปรากฏเป็นการพูดในทำนองว่า ตลบหลัง และการล้มยักษ์นั้น ทำให้มีหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การต่อสู้ของจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมากพอหักล้างพยานโจทก์ได้ . ทั้งนี้ระบบ OTT เป็นรูปแบบการบริการที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมสื่อไทย อย่างไรก็ตามเมื่อทรูอ้างว่า กสทช.ไม่มีระเบียบดูแล บริการนี้จึงอยู่ในข่ายที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ต้องเป็นผู้กำกับดูแล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ DE จะต้องมีบทบาทเข้ามาทำหน้าที่เรื่องนี้แทน กสทช. เพื่อรักษากฎ Must Carry ป้องกันไม่ให้กลุ่มทุนที่มีสื่อหลายแพลตฟอร์มหาประโยชน์จากช่องว่างดังกล่าวนี้จนกระทบกับผู้บริโภคและอุตสาหกรรมสื่อภาพรวม #saveพิรงรอง #freeกสทช
Tweet media one
0
1
4
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
5 days
วานนี้ (5 ก.พ.) ผมได้มีโอกาสร่วมประชุมใน กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประมง ในฐานะ กมธ. โดยมีวาระพิจารณารายมาตราของ กมธ.ต่อ ประเด็นถกเถียงน่าสนใจ เน้นไปที่บทกำหนดด้วยโทษ การผ่อนปรนการขนถ่ายสัตว์น้ําโดยใช้หลักเกณฑที่อธิบดีประกาศกําหนด ซึ่งมีข้อกังวลจากหลายส่วา รวมทั้งบทเฉพาะกาลของกฎหมายนี้ที่เดิมร่างของ ครม. ให้ออกกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.นี้ ภายใน 120 วัน พอชั้นสภาผู้แทนฯ ปรับเป็น 2 ปี เป็นต้น สำหรับการประชุมนัดต่อไปเป็นวันที่ 7 ก.พ.นี้ เช้าเชิญนักวิชาการ นักวิจัยและตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล บ่ายให้ผู้แปรญัตติมาชี้แจ้ง และวันที่ 11 ก.พ. กมธ.จะลงมติรายมาตรา
Tweet media one
Tweet media two
0
11
15
@Bus_Te
บัส เทวฤทธิ์
6 days
เตรียมเข้าชี้แจง กมธ..วิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ปปช. ประกอบคำแปรญัตติ ขยายการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล/เบาแสทุจริตกับ ''สื่อสาธารณะ' ป้องกันการฟ้องปิดปากที่ครอบคลุมขึ้น พรุ่งนี้ (6 ก.พ.) บ่าย 3 กมธ.วิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ปปช. นักให้ผมไปชี้แจงประกอบคำแปรญัตติ โดยผมเสนอเพื่อขยายกรอบการคุ้มครอง ไปยัง ผู้ที่ให้ถ้อยคำ/แจ้งข้อมูล/เบาะแส/แสดงความเห็น แต่ ''สื่อสาธารณะ' เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หากได้กระทำโดยสุจริต ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย โดยร่างเดิมคุ้มครองเฉพาะคนที่ให้ข้อมูลกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันการ 'ฟ้องปิดปาก' ให้ครอบคลุมขึ้น เพราะ 1. ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถแก้ปัญหาการฟ้องปิดปากจากการมีส่วนร่วมของประชาชนได้จริง เพราะเมื่อไปดู SLAAP ส่วนใหญ่มาจากการฟ้องคนที่ให้ข้อมูลในพื้นที่สาธารณะแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านและกลุ่มเคลื่อนไหวระดับท้องถิ่น นักเคลื่อนไหว นักสหภาพแรงงาน หรือสื่อมวลชน 2. และข้อมูลที่คนเหล่านั้นเปิดต่อสื่อสาธารณะยั้งเป็นทั้งสารตั้งต้นนำไปสู่การตั้งประเด็นของ ป.ป.ช. อาจนำไปใช้ในการดำเนินงานต่อตามหน้าที่และอำนาจ 3. ต่อกรณีข้อกังวลว่าจะกลายเป็นขยายความคุ้มครองผู้ผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูล เบาะแส แสงความเห็น แก่ ‘สื่อสาธารณะ’ จนไร้ขอบเขตหรือไม่นั้น เมื่อพิจารณาภายใต้ร่างแก้ไข พ.ร.ป.ฉบับนี้ ของ ครม. มาตรา 136/1 ในส่วนการพิจารณาให้ความช่วยเหลือคุ้มครอง ก็ยังต้องผ่านการพิจารณาต่อ ป.ป.ช.ภายใน 15 วัน หลังได้รับเรื่องอยู่ดี 4. คำแปรญัตติผมตัดข้อความท้ายวรรคแรกของ ม.132 ของร่างแก้ ฉบับ ครม. ที่ว่า "เฉพาะส่วนความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส หรือแสดงความเห็นดังกล่าว" เพราะมันเป็นการจำกัดกรอบการคุ้มครองเฉพาะคนที่มาให้ปากคำกับ ป.ป.ช. เท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับปัญหาใหญ่ของการฟ้องปิดปากประชาชนขณะนี้ที่มักไปเล่นงานกับประชาชนที่ใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงความเห็นต่อพื้นที่สาธารณะต่างๆ 5. อีกทั้งเมื่อไปดูเจตนารมของรัฐธรรมนูญ ม.63 อันเป็นที่มาของกฎหมายนี้ก็ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตื่นตัว ให้ความร่วมมือขจัดหรือต่อต้าน การ��ุจริตอย่างได้ผล และที่สำคัญต้องมีหลักประกันว่าประชาชนที่ให้ความร่วมมือแล้ว จะได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ไม่ให้ถูกรังแกหรือกลั่นแกล้งได้ 6. หรือแม้ วิอาญา ม.161/1 จะเปิดให้ศาลยกฟ้อง กรณีที่ "ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ" แต่คดีส่วนใหญ่ของ ปปช. คือการตรวจสอบภาครัฐ ยิ่งจำเป็นที่ต้องมีมาตรการป้องกันการฟ้องปิดปาก เพราะ 161/1 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใช้คุ้มครองเฉพาะเอกชนฟ้องเอกชนเท่านั้น ไม่คุ้มครองกรณีรัฐฟ้องประชาชน หรือต่อให้เป็นเอกชนฟ้อง ปัจจุบันแนวโน้มการบังคับใช้วิอาญาฯ 161 ของศาล ยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะศาลไม่ค่อยนำมาใช้ เพราะไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง สุดท้ายก็ไปไต่สวนหรือสู้ในชั้นศาล แม้ชนะคดี ก็ต้องเป็นภาระนำสืบ เสียค่าทนาย เสียเวลา และจำเลยที่ถูกฟ้องไม่ได้ค่าใช้จ่ายคืน จำเป็นต้องที่สร้างบรรยากาศและพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้ให้ข้อมูล ตามเจตนาของ รัฐธรรมนูญ ม.63 เพราะอำนาจในการเข้าถึง เผยแพร่ หรือคุกคามของประชาชนด้อยกว่าเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว
Tweet media one
0
0
4